KUBET – สภาพอากาศ 7 เมษายน 2568 เปิดรายชื่อ 50 จังหวัดฝนถล่ม

          กรมอุตุนิยมวิทยา เตือนพายุฤดูร้อนเข้าไทย 7-8 เม.ย. และ 11-12 เม.ย. เปิดรายชื่อจังหวัดเตรียมรับมือฝนฟ้าคะนอง



50 จังหวัด รับมือฝนถล่มหนัก - วันนี้ (7 เม.ย.)

          วันที่ 7 เมษายน 2568 กรมอุตุนิยมวิทยา เปิดเผย พยากรณ์อากาศ 7 วัน ในช่วงวันที่ 7 – 8 เมษายน. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือด้านตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย และทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด

          ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

          ส่วนในช่วงวันที่ 9 – 12 เมษายน ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งในภาคเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ประกอบกับในช่วงวันที่ 11 – 12 เมษายน จะมีแนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง

          ส่วนลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ในขณะที่ลมตะวันออกกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนบริเวณทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 – 2 เมตร อ่าวไทยมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ข้อควรระวัง

          ในช่วงวันที่ 7 – 8 และ 11 – 12 เมษายน ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง หรืออยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลง

พยากรณ์อากาศ 24 ชั่วโมงข้างหน้า

          ประเทศไทยตอนบนมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เนื่องจากบริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้แล้ว ส่งผลให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป

          ขอให้ประชาชนบริเวณประเทศไทยตอนบนระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อนที่จะเกิดขึ้น หลีกเลี่ยงการเดินทางผ่านบริเวณที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง อยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงให้ไม้ผล และเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นกับผลผลิตทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยง รวมทั้งดูแลรักษาสุขภาพในช่วงที่สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงไว้ด้วย

          สำหรับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ขอให้ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย


พยากรณ์อากาศสำหรับประเทศไทย (06.00 น. – 06.00 น. 8 เมษายน)

ภาคเหนือ

         
อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเชียงราย พะเยา
ลำปาง น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ ตาก พิษณุโลก และเพชรบูรณ์
          อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
          อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส   
          ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

         
อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 60 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรง  และลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดเลย หนองคาย
อุดรธานี ชัยภูมิ ขอนแก่น มหาสารคาม ร้อยเอ็ด นครราชสีมา บุรีรัมย์
สุรินทร์ ศรีสะเกษ และอุบลราชธานี
          อุณหภูมิต่ำสุด 22-25 องศาเซลเซียส
          อณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส
          ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคกลาง

         
อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ
40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครสวรรค์
อุทัยธานี ชัยนาท อ่างทอง สิงห์บุรี พระนครศรีอยุธยา ลพบุรี สระบุรี
สุพรรบุรี และกาญจนบุรี
          อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส
          อุณหภูมิสูงสุด 36-40 องศาเซลเซียส
          ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

ภาคตะวันออก

         
อากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40 ของพื้นที่
กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากบริเวณจังหวัดนครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว
ฉะเชิงเทรา ชลบุรี จันทบุรี และตราด
          อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส
          อุณหภูมิสูงสุด 32-37 องศาเซลเซียส
          ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
          ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)

          มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดเพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ยะลา และนราธิวาส
          อุณหภูมิต่ำสุด 23-25 องศาเซลเซียส
          อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส
          ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
          ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

ภาคใต้(ฝั่งตะวันตก)

          มีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 ของพื้นที่ ส่วนมากบริเวณจังหวัดภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
          อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส
          ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม.
          ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

กรุงเทพฯ และปริมณฑล

          อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง
          อุณหภูมิต่ำสุด 26-27 องศาเซลเซียส
          อุณหภูมิสูงสุด 34-37 องศาเซลเซียส
          ลมใต้  ความเร็ว 10-20 กม./ชม.

50 จังหวัด รับมือฝนถล่มหนัก - วันนี้ (7 เม.ย.)
ภาพจาก กรมอุตุนิยมวิทยา

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *