KUBET – หนุ่ม กรรชัย เผยเหตุลืมแขกรับเชิญ โหนกระแส หนีแผ่นดินไหวกรุงเทพ คนแรก ชาวเน็ตบอกทำถูกแล้ว

KUBET – โผล่ลงขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน แกร่งยืนหนึ่ง

         สนไหม ? คนโพสต์ขายตึกสาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ให้ราคา 4 พันล้าน แข็งแกร่งแค่ไหนในภาพบอก สร้างมา 35 ปี – เจอแผ่นดินไหว ยังแข็งแกร่งทนทาน



ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

         จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ (28 มีนาคม 2568) จนเป็นเหตุให้อาคารก่อสร้างสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) บริเวณจตุจักรพังถล่ม และอาคารหลายแห่งเกิดความเสียหาย พบว่ายังมีกระแสการพูดถึง อาคารสาทร ยูนีค ทาวเวอร์ หรือที่รู้จักชื่อ “ตึกร้างสาทร” ที่ยังคงตั้งตระหง่านอย่างแข็งแกร่ง โครงสร้างยังแข็งแรงแม้ก่อสร้างมานาน 35 ปี หรือแม้จะเกิดแผ่นดินไหว

ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

         ล่าสุด (29 มีนาคม) พบผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง โพสต์ภาพตึกสาทร ยูนีค ทาวเวอร์ พร้อมข้อความประกาศขาย ระบุว่า

         ขายตึกสูง 49 ชั้น ใกล้แม่น้ำเจ้าพระยา ที่ดิน 3.19 ไร่ ตึกยังสร้างไม่เสร็จ เจอ I M F เสียก่อน !! อยู่ถนนเจริญกรุง ไม่โดนมรดกโลกปิดบังทัศนียภาพ ผู้ออกแบบสถาปนิก อ.รังสรร ถ้าสร้างเสร็จจะสวยดั่งรูปภาพ แบบคอนโดที่หรูที่สุดในใจกลางเมือง มีสระว่ายน้ำรวมอยู่ด้วย ใกล้สถานี BTS ใกล้ห้างโรบินสัน สวยสุดแปลงที่เหลือ ขาย 4,000 ล้านบาท ราคามาคุยกันได้

ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

         ออกแบบรองรับ แผ่นดินไหว โดยผู้เชี่ยวชาญ
สถาปนิกมือหนึ่งของไทยและจากต่างประเทศ !! ขาย 4,000 ล้านถ้วน
พร้อมลงช่องทางสำหรับการติดต่อ

        
ต่อมาผู้ใช้เฟซบุ๊กรายดังกล่าว ยังโพสต์ต่อว่า มีคนสนใจซื้อตึกดังกล่าว
3,000 กว่าคนแล้ว ขณะนี้ยังตอบคำถามไม่ทัน หากตอบช้าขออภัยด้วย

         ขณะที่ชาวเน็ตเข้ามาแสดงความคิดเห็นจำนวนมาก พร้อมติดแท็กหา สตง.
ตลอดจนสำนักงานประกันสังคม เผื่อจะสนใจซื้อตึกนี้ไว้
เพราะสุดยอดโครงสร้างของจริง หากนำไปรีโนเวทจะสวยมาก
นอกจากนี้ก็มีคนแอบสงสัย ว่าเป็นการประกาศขายจริงหรือแค่ล้อเล่น
ซึ่งทางเจ้าของโพสต์ได้ยืนยันว่าขายจริง

ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน
ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

ขาย 4 พันล้าน สาทร ยูนีค ทาวเวอร์ ตึกร้างสาทรในตำนาน

KUBET – ไขคำตอบ แผ่นดินไหว ตึกใหม่ ๆ ทำไมร้าว ไม่แข็งแรงเท่าตึกเก่าจริงไหม

          ไขคำตอบ หลังแผ่นดินไหว ทำไมตึกเก่า ๆ ไม่ร้าว ส่วนตึกใหม่ ๆ กลับร้าว เกี่ยวกับสร้างไม่แข็งแรงหรือไม่



ตึกร้าวจากแผ่นดินไหว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Curiosity Channel คนช่างสงสัย

          จากเหตุหลายที่พื้นในประเทศไทยได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 โดยบางส่วนนั้นมีการลงภาพผนังที่แตกร้าวตามอาคาร หรือคอนโด เปรียบเทียบกับอาคารเก่า ที่ดูจากภายนอกเหมือนจะไม่ค่อยได้รับผลกระทบนั้น

          วันที่ 28 มีนาคม 2568 เพจเฟซบุ๊ก Curiosity Channel คนช่างสงสัย ออกมาให้ความรู้ถึงข้อสังเกตดังกล่าว โดยยืนยันว่า ไม่ใช่ว่าตึกที่สร้างใหม่นั้นไม่แข็งแรงเท่าตึกเก่า แต่เป็นเพราะ มาตรฐานการออกแบบอาคารสมัยใหม่ เน้นให้โครงสร้างมี ความเหนียว ดูซับแรงแผ่นดินไหวได้ จะเกิดรอยร้าวก่อนพัง มีเวลาให้อพยพ แตกต่างจากตึกเก่าที่ออกแบบให้แข็งเกร็ง หากรับแรงเกินขีดจำกัดจะพังทันที

          เพจระบุว่า มาตรฐานการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหวใหม่ ๆ ตั้งแต่ช่วง 2550 เป็นต้นมา ได้กำหนดให้วิศวกรต้องออกแบบตึกให้มีความ “เหนียว” ในการรับแผ่นดินไหว

          ก่อนจะไปพูดถึงความเหนียว เรามาพูดสิ่งที่ตรงข้ามกันก่อน ซึ่งก็คือ “ความแข็ง” สิ่งที่แข็ง มันจะตามมาด้วยความเปราะเสมอ หรือก็คือ ถ้ามันพัง มันจะพังอย่างฉับพลัน ไม่มีการเตือนใด ๆ เหมือนกับเราพยามหักดินสอ ดินสอมันหักทันที ไม่มีการร้าวก่อน หรือที่วิดวะเรียกว่า “วิบัติแบบทันที” ซึ่งมันจะอันตรายมาก ไม่มีการเตือนก่อนใด ๆ จากตึกดี ๆ นิ่ง ๆอยู่ ถ้ามันรับแรงไม่ไหว มันจะพังอย่างฉับพลัน ซึ่งทำให้ผู้อยู่อาศัย “หนีไม่ทัน”

          แต่อาคารที่เหนียว ตามมาตรฐานการออกแบบสมัยใหม่ ถ้าเจอแรงแผ่นดินไหว มันจะโยกง่ายกว่า แอ่นตัวง่ายกว่า แต่จะยังไม่พังหักพับลงมา เหมือนเราจะพยายามบิดไม้บรรทัดพลาสติก ซึ่งนั่นทำให้เกิดรอยร้าวตามจุดต่าง ๆ ของอาคาร โดยเฉพาะผนัง ซึ่งรอยร้าวนี่แหละ คือสัญญาณเตือนให้ผู้อาศัยรับหลบหนีออกจากอาคาร นั่นเอง (และสลายพลังงานแผ่นดินไหว)

          การมีรอยร้าว
ไม่ได้ทำให้ตึกอ่อนแอกว่าการไม่มีรอยร้าว จริง ๆ แล้ว
มันอาจแข็งแรงกว่าด้วยซ้ำ เพราะมันโยกไปโยกมาได้
มันจะสลายแรงแผ่นดินไหวให้กลายเป็นแรงในการโยกแทน
ในขณะที่อาคารแบบแข็งเกร็ง จะสะสมแรงแผ่นดินไหวให้กลายเป็น Stress
ในองค์อาคาร ถ้าสะสมมากขึ้นเรื่อย ๆ จนทนไม่ไหว
มันจะพังอย่างฉับพลันโดยไม่มีสัญญาณเตือนมาก่อน (นึกภาพต้นมะพร้าวเอนตามลม
มันจะไม่หัก แต่ถ้ามันฝืนยืนแข็งทื่อ มันจะหักง่ายกว่า)

         
ดังนั้น การมีรอยร้าวหลังเกิดแผ่นดินไหวนั้น “ดีแล้ว” ถูกแล้ว
ตรงตามมาตรฐานการออกแบบอาคารรับแผ่นดินไหว “ร้าวเพื่อไม่ให้ล้ม”
ถ้าไม่มีรอยร้าวเลยสิ น่าคิด โดยเฉพาะตึกเก่า ๆ ที่สร้างมานานแล้ว
ส่วนใหญ่จะออกแบบให้เป็นแบบ “แข็งเกร็ง”

          ขยายความคำว่า
ถ้าไม่มีรอยร้าวเลยสิ น่าคิด คือการไม่ร้าว แค่แปลว่า มันไม่โยกตัว
ไม่มีสัญญาณเตือน ไม่ได้แปลว่าไม่แข็งแรง ถ้ามันไม่พัง ก็คือแข็งแรง
แต่ที่น่าคิด คือ ถ้าตึกสร้างหลังปี 2550 ไม่ร้าว ก็แปลได้ 2 แบบคือ
แข็งแรงมาก ยังไม่ถึงจุดร้าวตามที่ออกแบบไว้ กับ
ไม่ได้ออกแบบตามมาตรฐานที่ให้มีความเหนียว

ตึกร้าวจากแผ่นดินไหว
ภาพจาก เฟซบุ๊ก Curiosity Channel คนช่างสงสัย

         
ทำไมแอดมินรู้เรื่องนี้ ? คือตนเอง สามัญวิศวกรโยธา
จบโทด้านอาคารรับแผ่นดินไหว แบบสายตรงเป๊ะกับเรื่องนี้เลย
และยังเป็นผู้ตรวจสอบอาคาร เลขที่ใบอนุญาต บ.2879/2560,
เป็นวิศวกรอาเซียนเลขที่ 2664/2022 , เป็นวิศวกรเอเปค เลขที่ THA-01-00029

          ปล.
แต่ร้าว ไม่ได้แปลว่าไม่เสียหาย กลับเข้าไปนอนได้นะ ร้าวคือ
“การแจ้งเตือน” ร้าวคือ “เสียหาย” นั่นแหละ แต่แค่ “ยัง” ไม่พังพับลงมา
เป้าหมายในการทำให้ตึกร้าว คือ เตือนให้ผู้ใช้หนีเป็นเรื่องสำคัญ
(และสลายแรง) เอาชีวิตคนมาก่อน ไม่ใช่แปลว่า ร้าว =
ตึกปลอดภัยกลับเข้าไปอาศัยได้
ยังไงก็ต้องให้วิศวกรมาประเมินความเสียหายและซ่อมแซมอยู่ดี

          ร้าวมาก
ๆ ยังไงก็อันตรายอยู่ดี และไม่มีรอยร้าว ไม่ได้แปลว่าไม่แข็งแรงนะครับ
มันก็แข็งแรงแหละ แค่อาจไม่มีรอยร้าวเตือนก่อนเนิ่น ๆ เท่านั้นเอง
หรือแข็งแรงมาก จนยังไม่ถึงจุดที่มันจะร้าวตามที่ออกแบบไว้ ถ้าจะร้าว
แผ่นดินไหวต้องแรงกว่านี้อีก แผ่นดินไหวแค่นี้จิ๊บ ๆ ก็เป็นได้
ไม่มีรอยร้าว แค่ “อาจ” ไม่มีสัญญาณเตือนล่วงหน้าไว
แต่ไม่ได้แปลว่าไม่แข็งแรง

          ขอย้ำบรรทัดสุดท้ายว่า
ถ้าออกแบบถูกต้อง ไม่ว่าตึกจะแข็งเกร็ง หรือเหนียว
มันจะรับแรงแผ่นดินไหวได้ใกล้เคียงกัน เพียงแต่อันหนึ่งจะร้าวช้า
อีกอันจะร้าวไว และกฏกระทรวงไทยปัจจุบัน ต้องการให้เหนียว

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก Curiosity Channel คนช่างสงสัย

KUBET – พบสัญญาณชีพ 15 คน ใต้ซากตึกถล่ม บางกลุ่มอยู่ลึก 3 เมตร – เสียชีวิตแล้ว 8 ศพ

         พบสัญญาณชีพ 15 คน ใต้ซากตึกถล่ม บางกลุ่มอยู่ลึก 3 เมตร จนท. เร่งช่วยใน 48 ชม. ฝั่ง ปภ. ยันขณะนี้พบร่างแล้ว 8 ศพ



พบสัญญาณชีพ 15 คน ใต้ซากตึกถล่ม
ภาพจาก X @js100radio

          วันนี้ (29 มีนาคม 2568) ไทยพีบีเอส รายงานว่า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร แถลงความคืบหน้าเหตุแผ่นดินไหว หลังลงพื้นที่ตึกถล่มย่านจตุจักร โดยเปิดเผยว่า ขณะนี้ยังมีผู้ติดค้างอยู่ใต้ซากอาคารจำนวนมาก ซึ่งมีซากชิ้นส่วนขนาดใหญ่ที่ต้องนำเครื่องมือหนักมาทยอยขนออกเพื่อค้นหาผู้รอดชีวิต และร่างของผู้เสียชีวิต จากนี้จะต้องหาเครนมาขนเอาชิ้นส่วนโครงสร้างตึกออกไป

          สถานการณ์ขณะนี้คิดว่าต้องทำทุกอย่างควบคู่กัน เช่น การประเมินอาคาร เตรียมหารถเครน ว่าจะยกชิ้นส่วนโครงสร้างรองรับน้ำหนักได้กี่ตัน และต้องหารถมาบรรทุกชิ้นส่วนออก หากเตรียมพร้อมทุกอย่างจะเข้าดำเนินการทันที

          ทั้งนี้  ยืนยันว่ายังพบสัญญาณชีพของผู้สูญหายในซากอาคารถล่ม เตรียมใช้เครื่องจักรหนักขนเศษโครงสร้างตึกออก เร่งช่วยเหลือภายใน 48 ชั่วโมง 

พบสัญญาณชีพ 15 คน ใต้ซากตึกถล่ม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก K9 USAR THAILAND

          ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ผู้อำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นคนบริหารจัดการพื้นที่ทั้งหมด หากใครต้องการเข้ามาช่วยเหลือ สามารถแจ้งกับผู้อำนวยการได้ว่าสามารถสนับสนุนส่วนใดได้บ้าง แต่เจ้าหน้าที่ก็คงไม่สามารถให้เข้าไปช่วยงานในจุดที่อันตรายได้

          สำหรับพื้นที่รอบนอกที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหว เบื้องต้นพบว่ามีอาคารสูงประมาณ 200 อาคาร ที่ต้องได้รับการตรวจสอบและประเมิน ซึ่งวันนี้ (29 มีนาคม) มีวิศวกรอาสาประมาณ 130 คน กระจายตามอาคารสูง เพื่อประเมินและดูแลแนวทางแก้ไขปัญหาต่อ ส่วนใหญ่ตึกเหล่านี้จะอยู่แถวดินแดง-ห้วยขวาง โดยพบว่า มีคอนโดมิเนียม 2 แห่งย่านลาดพร้าวที่ต้องอพยพคนออกทั้งหมด ไม่สามารถให้เข้าพักอาศัยได้เพราะโครงสร้างไม่ปลอดภัย

          สำหรับเครนที่หล่นจากคอนโดสูงที่กำลังก่อสร้าง จนมีชิ้นส่วนกีดขวางการจราจรบนทางลงทางด่วนดินแดง ขณะนี้ยังไม่เปิดจราจร ต้องเก็บชิ้นส่วนที่กีดขวางทั้งหมดก่อน ขณะที่รถไฟฟ้าเปิดให้บริการปกติตั้งแต่เมื่อคืนแล้ว

ในส่วนสาธารณะที่เปิดให้ประชาชนเข้าพัก หากวันนี้สถานการณ์ยังดีขึ้น กรุงเทพมหานครก็พร้อมเปิดให้บริการอีก 1 คืน
 

พบสัญญาณชีพ 15 คน ใต้ซากตึกถล่ม
ภาพจาก เฟซบุ๊ก K9 USAR THAILAND

          ส่วนที่ประชาชนตั้งคำถาม
ว่าเหตุแผ่นดินไหวทั้งประเทศทำไมถึงมีอาคารของสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
ซึ่งมีหน้าที่ตรวจสอบเรื่องการใช้จ่ายเงินทั้งแผ่นดิน และงบประมาณ
ถล่มลงมาเพียงอาคารเดียว
เช่นนี้ต้องตรวจสอบการใช้งบประมาณว่ามีการทุจริตหรือไม่นั้น นายชัชชาติ
ระบุว่าคงไม่ตั้งคำถามถึงขนาดนั้นแต่อยากให้มองว่า
โชคดีที่มีเพียงอาคารเดียวที่เกิดเหตุลักษณะแบบนี้มากกว่า

         
ด้าน นายสุริยชัย รวิวรรณ ผอ.สำนักป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย เปิดเผยว่า
ขณะนี้ยอดผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 8 คน สูญหาย 47 คน
และใช้เครื่องมือตรวจสอบพบสัญญาณชีพ 15 คน ที่ยังติดอยู่ใต้โครงสร้างอาคาร
จึงต้องเร่งใช้เครื่องมือขนย้ายเศษซากออกก่อนจะทำการช่วยเหลือ

         
สำหรับเวลาในการช่วยเหลือ ปกติจะกำหนดอยู่ที่ 72 ชั่วโมง
เพราะเป็นช่วงเวลา ที่สามารถอดอาหารและขาดน้ำได้
และเสี่ยงเกิดอาการช็อกเสียชีวิตหากใช้เวลานานกว่านั้น
แต่ตามแผนคาดว่าจะเร่งดำเนินการช่วยเหลือภายใน 48 ชั่วโมง

พบสัญญาณชีพ 15 คน ใต้ซากตึกถล่ม
ภาพจาก X @js100radio

          เบื้องต้นจากการพบสัญญาณชีพลักษณะเป็นกลุ่มกระจาย 3-7 คน
ยอมรับว่ายังไม่สามารถส่งน้ำอาหารเข้าไปได้
เนื่องจากบางกลุ่มก็อยู่ลึกไปถึง 3 เมตร

          ทางฝั่ง นายภาสกร
บุญญลักษม์ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
ในฐานะเลขานุการกองบัญชาการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ รายงานว่า ณ
เวลา 21.30 น. มีผู้ได้รับบาดเจ็บจำนวน 9 ราย เสียชีวิต 8 ราย และสูญหายอีก
101 ราย

         
เจ้าหน้าที่ประกาศยุติการค้นหาผู้รอดชีวิตในเวลา 05.30 น. โดย นายทรงวุฒิ
หวังผล กรรมการอาสาสมัครร่วมกตัญญู รหัสเหนือ 05 เผยว่า
เนื่องจากตลอดทั้งคืนที่ผ่านมา
ไม่สามารถเข้าถึงตัวผู้ติดค้างอยู่ภายในซากอาคาร
เพราะแผ่นปูนและแผ่นเหล็กขนาดใหญ่เกิดสไลด์ลงมาทับถม
เกรงว่าเจ้าหน้าที่และผู้รอดชีวิตจะไม่ปลอดภัย ซึ่งหลังจากนี้ในเวลา 08.00
น. จะมีการประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อปรับแผนในการค้นหา
และจะนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาเคลียร์พื้นที่พร้อมกับรถเครนขนาดใหญ่
มาคอยช่วยพยุงยกชิ้นส่วนอาคารบริเวณด้านบนของซากเพื่อไม่ให้สไลด์ลงมาทับถมเพิ่มขึ้นอีก

ขอบคุณข้อมูลจาก Thai PBS, 3Plus – ช่อง3

 

KUBET – วัดเมียนมาถล่มระหว่างจัดสอบ พระติดใต้ซากกว่า 100 รูป คาดมรณภาพแล้ว 80 รูป

          แผ่นดินไหวเมียนมา ช็อกวัดถล่มขณะพระสงฆ์กำลังสอบ ติดใต้ซากกว่า 100 รูป สลดคาดมรณภาพแล้ว 80 รูป 

          จากเหตุแผ่นดินไหวในเมียนมา ขนาด 8.2 ในช่วงบ่ายวานนี้ (28 มีนาคม 2568) พบว่าหนึ่งในจุดที่ได้รับความเสียหายหนัก คือที่วัด U Hla Thein Temple ในเมืองมัณฑะเลย์ ซึ่งชุดกู้ภัยต้องระดมกำลังปฏิบัติการค้นหาและกู้ภัย หลังมีพระสงฆ์กว่า 100 รูป ติดอยู่ใต้ซากอาคารที่พังถล่ม 

          ล่าสุด (29 มีนาคม) จากรายงานของ Khit Thit Media สื่อเมียนมา พบว่าขณะเกิดเหตุแผ่นดินไหว มีพระสงฆ์กว่า 270 รูป กำลังสอบอยู่ภายในวัดดังกล่าว เมื่อเจอแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหว สิ่งปลูกสร้างในวัดจึงพังถล่ม จนทำให้พระสงฆ์นับร้อยรูปติดอยู่ภายในนั้น ซึ่งชุดกู้กัยได้ลงพื้นที่ช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องตั้งแต่วานนี้

          จนถึงขณะนี้ คาดว่าน่าจะมีพระสงฆ์กว่า 80 รูป มรณภาพจากเหตุดังกล่าว ซึ่งชุดกู้ภัยยังคงเดินหน้าภารกิจค้นหาและกู้ภัย โดยหนึ่งในเจ้าหน้าที่จากคณะกรรมการภูมิภาคมัณฑะเลย์ ให้สัมภาษณ์กับสื่อว่า “ผมไม่ทราบจำนวนผู้เสียชีวิตที่แน่ชัด แต่มีจำนวนมาก พวกเขาไปที่นั่นตั้งแต่เมื่อคืนแล้วยังไม่ได้กลับเลย ทีมเจ้าหน้าที่ยังคงปฏิบัติกงานต่อไป”

          ขณะที่เว็บไซต์ DVB รายงานว่า ตอนนี้เจ้าหน้าที่เพิ่งช่วยพระสงฆ์ออกมาได้ประมาณ 100 รูปเท่านั้น โดยยังไม่ทราบว่ามีจำนวนพระสงฆ์ที่มรณภาพทั้งหมดกี่รูป แต่แน่นอนว่าบางส่วนยังติดอยู่ใต้ซาก แม้ว่าเบื้องต้นจะมีรายงานว่าพบพระสงฆ์มรณภาพถึง 80 รูป แต่ยังต้องรอข้อมูลยืนยันจากทางการ

ขอบคุณข้อมูลจาก DVB, Khit Thit Media 

KUBET – รู้จัก 2 โรคสมอง หลังแผ่นดินไหว ทำไมยังรู้สึกโยก ๆ กระทบจิตใจยังไง นานไหมกว่าจะหาย

          รู้จักโรคสมองเมาแผ่นดินไหว และ โรคสมองหลอนแผ่นดินไหว อาการต่อเนื่องของร่างกาย รักษายังไง นานแค่ไหนกว่าจะหาย จิตใจกระทบยังไงบ้าง



โรคสมอง ที่เกิดหลังจากแผ่นดินไหว
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

          หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว แม้ว่าเหตุการณ์จะสงบลงแล้วแต่หลายคนอาจเกิดอาการผิดปกติขึ้น เช่น วิงเวียน หรือรู้สึกสั่น ๆ โยก ๆ อยู่บ้าง เป็นอาการต่อเนื่องหลังประสบเหตุ จนน่าประหลาดใจ หลายคนไม่รู้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ในเรื่องนี้ พบว่าทางเพจ “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” โดย ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช ได้โพสต์ให้ความรู้ไว้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งมีใจความดังนี้

          มารู้จัก โรคสมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) และ โรคสมองหลอนแผ่นดินไหว (Earth quake illusion) โดยหลังแผ่นดินไหวจบ นอกจากสิ่งก่อสร้างเสียหาย ก็ยังมีอาการตอบสนองต่อร่างกายยังไม่จบเป็นอาการต่อเนื่องด้วย ดังเช่นตัวอาจารย์หมอ ที่ยังรู้สึกหวั่น ๆ โยก ๆ อยู่นิดนึง

          อาการอะไรบ้าง เกิดต่อร่างกาย – จิตใจ หลังแผ่นดินไหว

          1. สมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) กลุ่มอาการวิงเวียนหลังแผ่นดินไหว หรือ Post-Earthquake Dizziness Syndrome หรือ PEDS)

          ผู้คนมักอธิบายว่ารู้สึกเหมือนยังคงเคลื่อนไหวอยู่ คล้ายกับความโคลงเคลงที่รู้สึกหลังจากลงจากเรือ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “อาการป่วยจากแผ่นดินไหว” หรือ “จิชิน-โยอิ” (แปลตรงตัวว่า “เมาแผ่นดินไหว” ในภาษาญี่ปุ่น)

          การศึกษาชี้ว่าอาการนี้อาจเกิดจากการรบกวนในระบบการทรงตัว (vestibular system) ซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นในที่ควบคุมความสมดุล การเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดจากแผ่นดินไหวสามารถทำให้ระบบนี้เสียสมดุล ส่งผลให้สมองพยายามปรับความรู้สึกให้กลับมาปกติอย่างยากลำบาก บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือรู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย และอาการนี้อาจรุนแรงขึ้นในคนที่ไวต่อการเมารถอยู่แล้ว หรือในคนที่อยู่ในอาคารสูงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งการสั่นไหวจะรู้สึกชัดเจนกว่า

          ระยะเวลาของอาการทางร่างกายเหล่านี้แตกต่างกันไป ในหลายคน อาการวิงเวียนจะค่อย ๆ หายไปภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง เมื่อร่างกายปรับตัวได้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวโทโฮกุในญี่ปุ่นปี 2011 (ขนาด 9.0) หรือแผ่นดินไหวคุมาโมโตะในปี 2016 พบว่าบางคนมีปัญหาการทรงตัวนานถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

          การศึกษาหนึ่งพบว่า มากกว่า 42% ของผู้ที่ถูกสำรวจรายงานถึง ความรู้สึกโคลงเคลงที่เหมือนภาพลวงตา ในช่วงหลายสัปดาห์หลังแผ่นดินไหวคุมาโมโตะ

          2. อาการ “สมองหลอนแผ่นดินไหว” หรือ “แผ่นดินไหวทิพย์ (earthquake illusion) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจิตใจที่รู้สึกเหมือนมีแรงสั่นสะเทือน
ทั้งที่มันไม่ได้เกิดขึ้นจริง
อาจเป็นเพราะความตื่นตัวที่สูงขึ้นหรือความทรงจำจากเหตุการณ์อาการทางจิตสั่นไหว

         
แผ่นดินไหวสามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดเฉียบพลัน เช่น
ความวิตกกังวล ความกลัว แพนิก บางคนนำไปสู่โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ
(PTSD) ซึ่งมีอาการเช่น การย้อนนึกถึงเหตุการณ์ ความตื่นตัวเกินเหตุ
หรือการนอนหลับยาก กลัวการอยู่ในตึก หรือ ขึ้นรถไฟฟ้าไปเลย

         
สาเหตุของอาการเหล่านี้ซับซ้อน น่าจะเป็น
สมองพยายามประมวลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่ขัดแย้งกัน เช่น
ตาบอกว่าพื้นดินนิ่ง แต่ระบบการทรงตัวบอกว่าเคลื่อนไหว
จนเกิดการพุ่งขึ้นของคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนระหว่างและหลังเหตุการณ์สามารถเพิ่มความไวต่อความรู้สึกในร่างกาย
ทำให้อาการวิงเวียนหรือคลื่นไส้รู้สึกหนักขึ้น คนที่เป็นภาวะนี้มากได้แก่
คนมีโรควิตกกังวลหรือประวัติปวดไมเกรน

         
ยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะสำหรับอาการหลังแผ่นดินไหว
แต่สามารถใช้วิธีจากอาการเมารถและการจัดการความเครียดได้ การมองไปที่จุดไกล
ๆ (เช่น เส้นขอบฟ้า) การนอนลง
หรือการจิบน้ำอาจช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนในระยะสั้นได้

         
สำหรับผลกระทบทางจิตใจ การพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์กับผู้อื่น จะช่วยระบาย
หรือหลีกเลี่ยงการดูสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์มากเกินไป (ปล.
ทานยาแก้เวียนได้ 2 – 3 วัน หากใจสั่นจิตตก ทำสมาธิ ไม่ดูข่าวมาก
หากมียาช่วยนอน ทานได้ ปรึกษาแพทย์ หากเป็นมากจนแพนิก)

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์

KUBET – แชร์สนั่น เพจพม่าเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้า ไทยแจงสาเหตุทำไม่ได้

          โลกออนไลน์แชร์ เพจเมียนมา แจ้งเตือนแผ่นดินไหว 7.0 ล่วงหน้า ด้านไทยแจงทำไมพยากรณ์ไม่ได้ ด้านกรมอุตุฯ เผย อาฟเตอร์ช็อก 77 ครั้ง



แผ่นดินไหว
ภาพจาก กรมทรัพยากรธรณี 

          จากเหตุการณ์แผ่นดินไหว ขนาด 8.2 ความลึก 10 กิโลเมตร ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลา 13.20 น. ศูนย์กลางบริเวณเมืองมัณฑะเลย์ ประเทศเมียนมา โดยในไทยสัมผัสได้ถึงแรงสั่นสะเทือน รวมทั้งได้รับความเสียหายจากเหตุแผ่นดินไหวด้วยนั้น

          วันที่ 28 มีนาคม 2568 โลกออนไลน์ได้แชร์โพสต์ของเพจเฟซบุ๊ก မြေငလျင်သတင်းများစင်တာ။ หรือ ศูนย์ข่าวแผ่นดินไหว ซึ่งเป็น NGO ทำการแจ้งเตือนไว้ตั้งแต่วันที่ 26 มีนาคม 2568 โดยระบุว่า ให้เฝ้าระวังแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.0 ใน 48 ชั่วโมง ในต่างประเทศ โดยมีการระบุในคอมเมนต์เพิ่มเติมถึงหลายพื้นที่ ทั้ง ฟิลิปปินส์, เนปาล, เม็กซิโก และอแลสกา

          ปรากฏว่า โพสต์ดังกล่าวได้รับความสนใจจำนวนมาก หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขึ้นจริง โดยถูกแชร์ไปกว่า 6.1 พันครั้ง 

กรมทรัพยากรธรณี แจงสาเหตุไม่สามารถแจ้งเตือนแผ่นดินไหวล่วงหน้าได้

          ขณะที่ เพจเฟซบุ๊ก กรมทรัพยากรธรณี โพสต์สรุปเหตุการณ์ แผ่นดินไหว รอยเลื่อนสะกาย ประเทศเมียนมา โดยตอบคำถามว่า แผ่นดินไหวสามารถพยากรณ์แผ่นดินไหวล่วงหน้าได้หรือไม่ ? ระบุว่า แผ่นดินไหวเป็นภัยธรรมชาติที่ยังไม่สามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้ เนื่องจากปัจจุบันยังไม่มีเทคโนโลยีหรือเครื่องมือที่สามารถคำนวณ ขนาด, สถานที่, และเวลา ของการเกิดแผ่นดินไหวได้อย่างแม่นยำ

          ด้าน ดร.วีระชาติ วิเวกวิน นักธรณีวิทยาชำนาญพิเศษ จากกรมทรัพยากรธรณี ไลฟ์ผ่านเพจ กรมทรัพยากรธรณี กล่าวถึงประเด็นนี้ว่า โดยหลักแล้วศาสตร์ทางด้านแผ่นดินไหว เรายังไม่สามารถทำนายหรือพยากรณ์ได้ว่าจะเกิดขึ้นเมื่อไหร่ ยังไง ตอนไหน แต่ถ้าเกิดขึ้นแล้ว เราสามารถที่จะส่งข่าวเพื่อแจ้งเตือนสถานการณ์ของแผ่นดินไหวตามได้ สำหรับอาฟเตอร์ช็อกก็ยังมีโอกาสเกิดได้อีก 1-3 สัปดาห์ แต่ขนาดจะลดลง เล็กน้อยลง จนกระทั่งไม่มีอาฟเตอร์ช็อกแล้ว

กรมอุตุฯ เผยตัวเลขอาฟเตอร์ช็อก แล้ว 77 ครั้ง

          วันที่ 29
มีนาคม 2568 ข่าวช่อง 3 รายงานว่า กรมอุตุนิยมวิทยา
รายงานจำนวนอาฟเตอร์ช็อก จากแผ่นดินไหวกลุ่มรอยเลื่อนสะกาย
บริเวณประเทศเมียนมา เมื่อเวลา 06.00 น. วันที่ 29 มีนาคม พบจำนวน 77 ครั้ง
ซึ่งอาฟเตอร์ช็อกที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงต่ำ
หลายพื้นที่ของประเทศไทยแทบไม่รู้สึกถึงแรงสั่นไหว

         
นอกจากนี้ เมื่อกลางดึกที่ผ่านมา กองเฝ้าระวังแผ่นดินไหว รายงานว่า
เมื่อเวลา 23.21 น. เกิดแผ่นดินไหว ขนาด 4.1 บริเวณ ต.เวียงเหนือ อ.ปาย
จ.แม่ฮ่องสอน ความลึก 5 กิโลเมตร สั่นสะเทือนจนประชาชนสามารถรับรู้ได้
นอกจากนี้ยังมีการรายงานแผ่นดินไหวในพื้นที่ภาคเหนือของประเทศไทยอีกเป็นระยะ
ขนาด 1.5 – 2.1 ส่วนใหญ่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ เชียงราย
ลำปาง พิษณุโลก พิจิตร

แผ่นดินไหว
ภาพจาก กรมทรัพยากรธรณี 

ขอบคุณข้อมูลจาก ข่าวช่อง 3, กรมทรัพยากรธรณี

KUBET – ตึกถล่ม ใครรับผิดชอบ เปิดสัญญาจ้าง ชี้ผู้รับจ้างต้องสร้างใหม่ – ค่าใช้จ่ายใครออก

          ตึกถล่ม ใครรับผิดชอบ ? เปิดสัญญาจ้างสร้างตึก สตง. ชี้ต้องสร้างให้ใหม่-จ่ายเอง ข้อสังเกต จุดเริ่มต้นถล่มเกิดจากจุดไหน ชี้ตามหลักต้องต้านแผ่นดินไหว ไม่ควรถล่มแบบนี้



ตึก สตง. ถล่ม ใครรับผิดชอบ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก K9 USAR THAILAND

          จากกรณีตึกที่ทำการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ถล่ม หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหวเมื่อช่วงบ่ายวานนี้ (28 มีนาคม 2568) โดยมีข้อมูลว่าเป็นโครงการก่อสร้างตึก 30 ชั้น มูลค่า 2.1 พันล้านบาท ดำเนินโครงการโดยไอทีดี-ซีอาร์อีซี ซึ่งเป็นบริษัทร่วมลงทุนระหว่างบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จํากัด (มหาชน), บริษัท ไชน่า เรลเวย์ นัมเบอร์ 10 (ประเทศไทย) จำกัด

          ล่าสุด (29 มีนาคม 2568) ฐานเศรษฐกิจ รายงานข้อมูลจาก ดร.ธนกฤต วรธนัชชากุล อัยการผู้เชี่ยวชาญ และอาจารย์พิเศษกฎหมายวิธีพิจารณาความและกฎหมายพยานหลักฐาน ซึ่งกล่าวถึงกรณีที่เกิดขึ้นว่า ตามสัญญาจ้างก่อสร้างข้อ 11 วรรคสอง หากตึกถล่มเป็นเพราะความผิดของผู้รับจ้าง หรือแม้แต่เกิดจากเหตุสุดวิสัยอย่างแผ่นดินไหว แต่ยังไม่มีการส่งมอบงานครั้งสุดท้าย ผู้รับจ้างต้องรับผิดในการก่อสร้างใหม่ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเอง โดยจะเรียกร้องค่าจ้างเพิ่มเติมจาก สตง. ไม่ได้

          ที่สำคัญ สัญญาจ้างข้อ 13 ยังระบุว่า ผู้รับจ้างจะอ้างเหตุจากการมีคณะกรรมการตรวจรับพัสดุหรือผู้ควบคุมงาน เพื่อให้พ้นจากความรับผิดไม่ได้

          ในส่วนของความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนงาน และบุคคลภายนอก ตามสัญญาจ้างข้อ 12 วรรคสาม กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องทำประกันภัยให้ลูกจ้างทุกคน และข้อ 11 วรรคหนึ่ง กำหนดให้ผู้รับจ้างต้องรับผิดต่ออุบัติเหตุและความเสียหายที่เกิดจากการปฏิบัติงาน ดังนั้น ผู้เสียหายจะได้รับเงินเยียวยาตามกรมธรรม์และตามสิทธิที่มีตามกฎหมาย

ตึก สตง. ถล่ม ใครรับผิดชอบ
ภาพจาก เฟซบุ๊ก K9 USAR THAILAND

          งบการเงิน อิตาเลียนไทย ตึกถล่มตอกย้ำสถานการณ์

          ทั้งนี้ ยังมีการจับตาถึงงบการเงินของ บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งแสดงให้เห็นถึงปัญหาทางการเงินที่รุนแรง โดยบริษัท แกรนท์ ธอนตัน จำกัด ผู้ตรวจสอบบัญชี เปิดเผยว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 กลุ่มบริษัท ขาดทุนหลังภาษีถึง 4,950.15 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญจากปีก่อนที่ขาดทุน 421.54 ล้านบาท ส่งผลให้บริษัทมีขาดทุนสะสมสูงถึง 12,138.78 ล้านบาท

          ขณะที่สถานการณ์สภาพคล่อง กลุ่มบริษัทมีหนี้สินหมุนเวียนสูงกว่าสินทรัพย์หมุนเวียนถึง 13,553.78 ล้านบาท นอกจากนี้พบว่า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2567 บริษัทไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขในสัญญาเงินกู้ เรื่องการดำรงอัตราส่วนหนี้สินต่อส่วนของผู้ถือหุ้น ทำให้สถาบันการเงินมีสิทธิเรียกชำระคืนเงินกู้ยืมทันทีจำนวน 3,413.35 ล้านบาท แบ่งเป็นเงินกู้ยืมระยะสั้น 51.65 ล้านบาท และระยะยาว 3,361.70 ล้านบาท

          อย่างไรก็ตาม บริษัทได้รับหนังสือจากสถาบันการเงินให้ความยินยอมและผ่อนผันเงื่อนไขดังกล่าวเมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2568 ขณะที่ผู้ถือหุ้นกู้ทั้ง 5 รุ่น มูลค่ารวม 14,455 ล้านบาท มีมติให้บริษัทเลื่อนชำระหุ้นกู้ออกไปอีก 2 ปี นับจากวันครบกำหนดไถ่ถอนเดิม

          แต่แม้จะเผชิญปัญหาทางการเงินรุนแรง ฝ่ายบริหารของกลุ่มบริษัทยังคงมั่นใจว่าสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปได้

          อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ตึก สตง. ถล่ม ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้กับบริษัทที่กำลังเผชิญปัญหาทางการเงินอยู่แล้ว นอกจากความรับผิดชอบในการก่อสร้างใหม่ ด้วยค่าใช้จ่ายของตนเองมูลค่ากว่า 2 พันล้านบาท บริษัทยังต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่เกิดขึ้นกับคนงานและบุคคลภายนอกด้วย

ตึก สตง. ถล่ม ใครรับผิดชอบ
ภาพจาก ไทยพีบีเอส

          ข้อสังเกต จุดเริ่มต้นถล่ม ชี้ตามกฎต้องออกแบบต้านแผ่นดินไหว ไม่ควรถล่มแบบนี้

ด้าน
ศ.ดร.อมร พิมานมาศ นายกสมาคมวิศวกรโครงสร้างแห่งประเทศไทยและนักวิจัย
สกสว. ได้ตั้งข้อสังเกตถึงจุดเริ่มต้นการถล่มจากคลิปที่ปรากฏ
มีจุดพังทลายที่สำคัญ 3 จุด คือ

1. เสาชลูดชั้นล่างหักที่บริเวณกลางเสา

2. รอยต่อระหว่างพื้นไร้คานกับเสาชั้นบน เฉือนขาดในแนวดิ่ง

3. การพังที่เกิดจากปล่องลิฟต์

โดยในขณะนี้ยังไม่สรุปว่า
จุดเริ่มต้นการถล่มเกิดที่จุดใด แต่ไม่ว่าจะเกิดขึ้นจากจุดใดก่อน
ก็สามารถทำให้อาคารถล่มราบคาบลงมาเป็นทอด ๆ ได้ ซึ่งในทางวิศวกรรมเรียกว่า
Pancake collapse แต่ปัจจัยหนึ่งที่อาจเป็นสาเหตุการถล่มได้คือการสั่นพ้อง
(resonance) ระหว่างชั้นดินอ่อนกับอาคารสูง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นดินไหวระยะไกลจากเมียนมา
เมื่อคลื่นแผ่นดินไหวเดินทางมาถึงชั้นดินอ่อนกรุงเทพฯ
จะเป็นแผ่นดินไหวแบบคาบยาว (long period) ซึ่งจะกระตุ้นอาคารสูงได้
เนื่องจากมีคาบยาวที่ตรงกันระหว่างอาคารกับชั้นดินอ่อน

ทั้งนี้
อาจมีปัจจัยอื่นที่ต้องพิจารณาด้วย เช่น ตัวปั้นจั่นที่ติดตั้งในปล่องลิฟต์
มีการสะบัดตัวและส่งผลกระทบต่อโครงสร้างอย่างไรนั้น ยังต้องพิสูจน์ต่อไป

แต่ตามกฎกระทรวงแผ่นดินไหว
ปี 2550 และ 2564
อาคารหลังนี้ควรต้องออกแบบให้ต้านแผ่นดินไหวในระดับที่ไม่ควรถล่มแบบนี้
จึงต้องไปตรวจสอบแบบ และการก่อสร้าง ด้วย
ตลอดจนต้องตรวจสอบทุกปัจจัยไปจนถึงเรื่องคุณภาพวัสดุก่อสร้าง เช่น คอนกรีต
และเหล็กเสริมว่ามีกำลังรับน้ำหนักเพียงใด
โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหล็กเส้นที่นำมาใช้
ได้มาตรฐานและมีความเหนียวเพียงพอหรือไม่ ก่อนจะสรุปความจริงได้  

ขอบคุณข้อมูลจาก ฐานเศรษฐกิจ, สำนักข่าวไทย

KUBET – สภาพหลังลูกค้าหนี แผ่นดินไหว 26 โต๊ะ ไม่มีใครจ่าย – ทางร้านโพสต์แล้ว ได้ใจเต็ม ๆ

         ลูกค้าร้านอาหารญี่ปุ่น หนีตายแผ่นดินไหว เผยมี 26 โต๊ะ ไม่กลับมาจ่ายสักโต๊ะ ค่าอาหารเกือบครึ่งแสน ล่าสุดทางร้านโพสต์แล้ว ได้ใจคนไปเต็ม ๆ



สภาพหลังลูกค้าหนี แผ่นดินไหว 26 โต๊ะ ไม่มีใครจ่าย

         สถานการณ์แผ่นดินไหวนั้น ไม่เพียงส่งผลกระทบต่อชีวิตและความปลอดภัยของผู้คนจำนวนมาก แต่หลังจากเหตุการณ์ผ่านพ้นไป ก็ยังมีสิ่งที่น่าปวดหัวตามมาเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นเรื่องที่อยู่ของผู้ที่คอนโดได้รับผลกระทบ ตลอดจนห้างร้านต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์ดังกล่าว

         ขณะที่วานนี้ (28 มีนาคม 2568) บนโลกออนไลน์ มีการแชร์ต่อโพสต์ของผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง ที่เผยภาพภายในร้านอาหารย่านเมืองทองธานี ซึ่งภายในร้านมีเพียงโต๊ะ เก้าอี้ ตลอดจนจานชามที่วางทิ้งไว้เต็มโต๊ะ หลังลูกค้าในร้านพากันหนีออกจากร้านในช่วงที่เกิดแผ่นดินไหว แต่ที่น่าสะเทือนใจสำหรับเจ้าของร้าน คือไม่มีลูกค้ากลับมาจ่ายเงินสักโต๊ะ

         โดยระบุว่า “วันนี้ผมไปทำงานที่เมืองทองธานี ช่วงที่แผ่นดินไหว ผ่านไปสัก เกือบ 2 ชม. ผมเดินไปถามร้านอาหารญี่ปุ่นร้านนึง ถามว่า ลูกค้ากลับมาจ่ายเงินบ้างมั้ย พนักงานตอบว่าไม่มีกลับมาจ่ายสักโต๊ะ รวมทั้งหมด 26 โต๊ะ มูลค่าประมาณ 4 หมื่นกว่าบาท ผมแอบคิดพรุ่งนี้คงกลับมาจ่ายบ้างแหละมั้ง”

         ขณะที่ชาวเน็ตเห็นแล้วก็อดสงสารทางร้านไม่ได้
และอยากวอนให้ลูกค้าร้านอาหารต่าง ๆ
กลับไปจ่ายเงินค่าอาหารทางร้านด้วยหลังเหตุการณ์กลับเป็นปกติ
ไม่งั้นทางร้านคงเดือดร้อนหนัก
บางคนยังมองว่าลูกค้าอาจจะกลับมาจ่ายวันรุ่งขึ้น ไม่น่าหนีไปเฉย ๆ
เพราะก็มีกล้องวงจรปิดอยู่

         อย่างไรก็ตาม ล่าสุด (29
มีนาคม) ทางเพจ ZEN Japanese Restaurant โพสต์ข้อความถึงเหตุการณ์ดังกล่าว
โดยยืนยันว่าทาง ZEN
ได้ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายอาหารของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบแล้ว…

         “ZEN ขอเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลลูกค้าทุกท่าน
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวานนี้ เราขอแสดงความห่วงใยและยืนยันว่า ZEN
ได้ช่วยดูแลค่าใช้จ่ายอาหารของลูกค้าที่ได้รับผลกระทบ
เพราะความปลอดภัยของพนักงานและลูกค้าคือสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับเรา
ขอให้ทุกท่านปลอดภัย และขอบคุณที่ไว้วางใจ ZEN เสมอค่ะ”
 

สภาพหลังลูกค้าหนี แผ่นดินไหว 26 โต๊ะ ไม่มีใครจ่าย

KUBET – อาฟเตอร์ช็อก คืออะไร หลังแผ่นดินไหวใหญ่ ทำไมถึงสั่นสะเทือน

อาฟเตอร์ช็อก คืออะไร หลังแผ่นดินไหวใหญ่ ทำไมถึงสั่นสะเทือน
            อาฟเตอร์ช็อก คืออะไร และเกิดขึ้นได้อย่างไร ทำไมถึงเกิดแผ่นดินไหวเป็นอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกหลายครั้ง หลังเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ คำตอบอยู่ที่นี่แล้ว !
            จากกรณีเหตุการณ์แผ่นดินไหวขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ที่เกิดขึ้นเมื่อเวลาประมาณ 13.30 น. ของวันที่ 28 มีนาคม 2568 โดยมีจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวอยู่ที่ประเทศเมียนมา ใกล้เมืองมัณฑะเลย์ ขนาด 8.2 ส่งผลให้ประชาชนในพื้นที่รู้สึกได้ถึงความสั่นไหวของอาคาร เสาไฟฟ้า ฯลฯ จนหลายคนต้องรีบหนีออกจากพื้นที่เพื่อมาอยู่ในที่โล่ง และยังพบเหตุตึกที่กำลังก่อสร้างถล่มที่เขตจตุจักร กทม. สร้างกระทบต่อจิตใจของผู้ประสบเหตุด้วย เพราะหลังจากเกิดเหตุแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อก ที่จะส่งผลให้เกิดแรงสั่นสะเทือน สร้างความเสียหายต่อที่พักอาศัยจนถล่มลงมาได้ทุกเมื่อ
            มาถึงตรงนี้ หลายคนอาจสงสัยว่า อาฟเตอร์ช็อก (After Shock) คืออะไร แล้วทำไมหลังเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่จึงต้องเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมา ถ้าอยากรู้ตามมาหาคำตอบไปด้วยกัน
            อาฟเตอร์ช็อก (After Shock) หรือชื่อภาษาไทยตามที่บัญญัติไว้ในพจนานุกรมศัพท์ภูมิศาสตร์ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน เรียกว่า “แผ่นดินไหวตาม” หมายถึง แผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง หลังจากเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ ซึ่งจะเกิดในพื้นที่เดียวกันกับแผ่นดินไหวใหญ่ อาจจะเกิดทันทีในไม่กี่ชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ หรืออาจเกิดหลัง 1-2 วัน หรือเป็นเดือนก็ได้ ขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น
            ส่วนที่ว่าทำไมจึงเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาหลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่นั้น เป็นเพราะเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น เปลือกโลกและหินต่าง ๆ ใต้ผิวโลกที่อยู่รอบ ๆ ศูนย์กลางแผ่นดินไหวจะเกิดการขยับตัว ดังนั้น เมื่อแผ่นดินหยุดไหวแล้ว เปลือกโลกจะพยายามปรับตัวให้คืนสู่สภาวะปกติ ทำให้เกิดความไหวสะเทือนตามมาเป็นระยะ ๆ จนเมื่อเปลือกโลกปรับสู่สภาพสมดุลได้แล้ว อาฟเตอร์ช็อกก็จะหยุดลงเอง
            ทั้งนี้ เราไม่สามารถบอกได้แน่ชัดว่า เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นแล้วจะเกิดอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีกกี่ครั้ง และมีขนาดเท่าไรบ้าง เพราะขึ้นอยู่กับความรุนแรงของแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้น หากเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่มาก ก็อาจเกิดอาฟเตอร์ช็อกจำนวนครั้งมากกว่าและต่อเนื่องนานกว่าแผ่นดินไหวที่มีความรุนแรงน้อยกว่า 
            แต่ถึงกระนั้นก็มี “กฎของกูเตนเบิร์ก-ริกเตอร์” (Gutenberg–Richter law) เคยคำนวณไว้ว่า หากเกิดแผ่นดินไหวขนาด 6.0 จำนวน 1 ครั้ง จะเกิดอาฟเตอร์ช็อก ขนาด 5.0 ราว 10 ครั้ง ขนาด 4.0 ราว 100 ครั้ง ขนาด 3.0 ราว 1,000 ครั้ง และยังเกิดขนาดต่ำกว่า 3.0 กว่า 10,000 ครั้ง ซึ่งเป็นระดับที่คนจะไม่รับรู้ถึงแรงสั่นสะเทือนแล้ว 
            และนอกจากอาฟเตอร์ช็อกแล้ว ยังมีศัพท์อีก 2 คำที่เราควรรู้จัก ก็คือ ฟอร์ช็อก (Fore Shock) หรือแผ่นดินไหวนำกับเมนช็อก (Main Shock) หรือแผ่นดินไหวหลัก
            ฟอร์ช็อก (Fore Shock) หรือแผ่นดินไหวนำ คือแผ่นดินไหวขนาดเล็กที่สั่นเตือนล่วงหน้าก่อนเกิดแผ่นดินไหวหลัก (Main Shock) จะเกิดในบริเวณเดียวกับแผ่นดินไหวหลัก และอาจเกิดก่อนล่วงหน้าเพียงไม่กี่นาที ชั่วโมง เป็นวัน หรือเป็นสัปดาห์ก็ได้
            เมนช็อก (Main Shock) หรือแผ่นดินไหวหลัก คือ แผ่นดินไหวที่มีขนาดความรุนแรงมากที่สุดในช่วงเวลานั้น ๆ โดยแผ่นดินไหวที่มีขนาดเล็กกว่าและเกิดก่อนเมนช็อก เราจะเรียกว่า ฟอร์ช็อก ส่วนแผ่นดินไหวที่ขนาดเล็กกว่าและเกิดหลังเมนช็อก เราจะเรียกว่า อาฟเตอร์ช็อก
            ยกตัวอย่างเช่น ในพื้นที่หนึ่งเกิดแผ่นดินไหวในช่วงระยะเวลาหนึ่งต่อเนื่องกัน 6 ครั้ง วัดระดับความสั่นสะเทือนได้ ขนาด 4.0, 5.2, 6.1, 5.0, 4.1, 3.5 ตามลำดับ แสดงว่า ในตอนที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งแรก (ขนาด 4.0) เราอาจจะคิดว่านี่คงเป็นเมนช็อก แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลับเกิดแผ่นดินไหวที่มีขนาดใหญ่ขึ้นอีก เท่ากับว่า การเกิดแผ่นดินไหวครั้งแรกคือ ฟอร์ช็อก 
            
            ทั้งนี้ แผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดเกิดขึ้นในครั้งที่ 3 (ขนาด 6.1) ครั้งนี้จะเรียกว่า “เมนช็อก” เลยทำให้แผ่นดินไหวครั้งแรก (ขนาด 4.0) และแผ่นดินไหวครั้งที่ 2 (ขนาด 5.2) กลายเป็น “ฟอร์ช็อก” ส่วนแผ่นดินไหวครั้งที่ 4 (ขนาด 5.0 ) ครั้งที่ 5 (ขนาด 4.1) ครั้งที่ 6 (ขนาด 3.5) มีขนาดเล็กกว่าการเกิดแผ่นดินไหวครั้งที่ 3 เพราะฉะนั้นนี่ก็คือ “อาฟเตอร์ช็อก” นั่นเอง
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก