กรมโบราณคดีฯ เมียนมา เผยการค้นพบฐานบันไดพระตำหนักน้ำ หลังเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ที่ผ่านมา จนเกิดรอยแยก

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Department of Archaeology and National Museum
วันที่ 9 เมษายน 2568 เฟซบุ๊กเพจกรมโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติของเมียนมา ได้เผยแพร่ข้อมูลเกี่ยวกับการค้นพบฐานบันไดพระตำหนักน้ำหรือ Water Palace ที่บริเวณเมืองเก่ายาดานาร์ปุระ อังวะ ในมัณฑะเลย์ ทางตอนกลางของเมียนมา ภายหลังจากเกิดแผ่นดินไหวรุนแรง 8.2 แมกนิจูด เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา จนผืนดินเกิดเป็นรอยแยก
พระตำหนักน้ำสร้างขึ้นที่เมืองสิเรียม หรือตันลยิน (Thanlyin) ในรัชสมัยของพระเจ้าเซงพยูเชง (Hsinbyushin) หรือพระเจ้ามังระ และพระเจ้าสะกาย แห่งราชวงศ์คองบองของพม่า ที่มุมตะวันออกเฉียงเหนือของกำแพงเมืองอังวะ โดยฐานบันไดทางขึ้นทำจากอิฐติดกับฐานบันไดช้าง และยังพบพลับพลาอีกทั้งหมด 18 หลัง ที่สร้างด้วยไม้สักตามสถาปัตยกรรมเมียนมา ซึ่งหากรวมกับพระตำหนักน้ำนับเป็น 20 หลัง

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Department of Archaeology and National Museum

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Department of Archaeology and National Museum

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Department of Archaeology and National Museum
ก่อนหน้านี ในปี 2552
ชาวบ้านได้พบส่วนของฐานบันไดทางทิศใต้ที่เชื่อว่าเป็นฐานของพระตำหนักน้ำ
ก่อนที่จะได้รับการอนุรักษ์โดยกรมโบราณคดีและพิพิธภัณฑ์แห่งชาติ
กระทั่งหลังจากเกิดแผ่นดินไหว เมื่อวันที่ 28 มีนาคม ที่ผ่านมา
เกิดรอยแยกขนาดใหญ่จึงทำให้ค้นพบฐานบันไดส่วนที่เหลือ
ซึ่งหลังจากนี้ทางกรมโบราณคดีฯ จะดำเนินการขุดค้นและวิจัยต่อไป
เพื่ออนุรักษ์มรดกทางวัฒนธรรมของยุคอังวะ และจัดเตรียมให้ประชาชนได้ศึกษา

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Department of Archaeology and National Museum
อย่างไรก็ดี จาการการสังเกตเบื้องต้นแสดงให้เห็นว่า
ตำหนักหลังนี้น่าจะเป็นอาคารที่ใช้สำหรับประกอบพิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับน้ำที่กษัตริย์พม่าในสมัยโบราณใช้
ดังนั้นควรเรียกว่าตำหนักน้ำมากกว่าพระราชวังน้ำ กล่าวโดยสรุปคือ
อาคารหลังนี้ไม่น่าจะมีขนาดใหญ่ และมีห้องต่าง ๆ
เหมือนกับพระราชวังน้ำที่อื่น

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Department of Archaeology and National Museum
ขอบคุณข้อมูลจาก Department of Archaeology and National Museum