KUBET – อีกมุม ปิดปากบัญชีม้า ระวังอายัดแม้ไม่ใช่มิจฉาชีพ อาชีพนี้เสี่ยงสุด ๆ


            ไรเดอร์สุดกลุ้ม ถูกอายัดบัญชีโยงเป็นมิจฉาชีพ หลังธนาคารใช้มาตรการปิดปากบัญชีม้า เผยต้นตอเกิดจากลูกค้าแสบ



มาตรการแก้ปัญหาบัญชีม้า ทำอาชีพนี้เดือดร้อน โดนอายัดบัญชีไปด้วย
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้
          จากกรณีเมื่อวันที่ 31 มกราคม 2568 ธนาคารแห่งประเทศไทย เริ่มต้นมาตรการจัดการบัญชีม้า โดยให้ทุกสถาบันการเงิน ห้ามทำธุรกรรมให้ หรือห้ามโอนเงินเข้าบัญชีต้องสงสัย มี 2 ประเภท คือ บัญชีม้าดำ และ บัญชีม้าเทาเข้ม โดยจะมีการแจ้งเตือนว่าบัญชีดังกล่าวเป็นบัญชีมิจฉาชีพ รวมทั้งระงับบัญชีม้าด้วยนั้น

          วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 รายการเรื่องเล่าเช้านี้เสาร์-อาทิตย์ รายงานว่า วานนี้ (31 มกราคม) ที่ธนาคารหลายแห่งมีคนมาติดต่อที่ธนาคารว่าบัญชีถูกระงับการใช้งานหลังธนาคารระงับบัญชีม้าล็อตใหญ่ รวมถึงบัญชีอื่นของเจ้าของเดียวกัน

          ขณะเดียวกันมีผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่ง คอมเมนต์ว่า เมื่อวันที่ 30 มกราคม ไปทำธุรกรรม ประมาณ 30-60 นาที ข้าง ๆ บัญชีถูกระงับจากหน่วยงานรัฐและธุรกรรมผิดปกติไปแล้ว 3-4 คน ก็งง ๆ อยู่ว่าทำไมเยอะจัง

          สอบถามผู้เสียหายรายหนึ่งชื่อว่า คุณปลา ทำอาชีพไรเดอร์ เผยว่า อยู่ดี ๆ โดนระงับบัญชีธนาคาร โดยตนได้รับข้อความจาก KBank ว่า “บริการ  K PLUS ของคุณถูกระงับใช้งานชั่วคราว หากต้องการเปิดใช้บริการ กรุณาติดต่อ K-Contact Center โทร 02-8888888 กด 03” ซึ่งตนเองก็กลัวจะเป็นขบวนการแก๊ง Call Center จึงกดเบอร์เช็กใน Whoscall ก่อน ซึ่งพบว่าเป็นเบอร์ KBank จริง

มาตรการแก้ปัญหาบัญชีม้า ทำอาชีพนี้เดือดร้อน โดนอายัดบัญชีไปด้วย
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้

          จากนั้นตนก็ติดต่อไปยังเบอร์ของธนาคารดังกล่าว เจ้าหน้าที่ได้ทำการตรวจสอบให้ สรุปสาเหตุที่บัญชีโดนระงับเพราะพบว่า ไปเป็นหนึ่งในเส้นทางการเงินที่มีคนโดนมิจฉาชีพหลอกให้โอนเงินเข้ามายังบัญชีของตน ทางธนาคารได้รับแจ้งมาจากตำรวจ สภ.โพธ์แก้ว จ.นครปฐม ธนาคารจึงต้องระงับเพื่อตรวจสอบเป็นเวลา 72 ชั่วโมง จากนั้นเจ้าหน้าที่ธนาคารก็แจ้งตนมาว่าเป็นยอดวันไหน จำนวนเท่าไหร่ ที่มีการแจ้ง

          จากนั้นตนทำเรื่องขอให้ธนาคารปลดล็อก ซึ่งทางธนาคารได้ดำเนินการยกเลิกการระงับใช้บริการ K PLUS ชั่วคราวให้บางรายการ และให้รอ 3 วัน จะปลดล็อกแอปฯ และบัญชีธนาคารให้ จนถึงขณะนี้ยังไม่ปลดล็อกบัญชี ตนโทร. ไปสอบถาม ทางแบงค์บอกต้องให้ติดต่อตำรวจเจ้าของคดีให้ตำรวจออกใบปลดล็อกให้ พอจบการคุยกับธนาคาร ตนก็กลับมาเช็กในแอปฯ งานตัวเอง (จากการวิ่งไรเดอร์) ว่ายอดที่ว่าเป็นงานตัวไหน ก็เจอว่าเป็นงาน ๆ หนึ่ง ซึ่งเขาสั่งอาหารผ่านแอปฯ แล้วให้ไปแขวนส่งไว้หน้าบ้าน ก่อนที่เขาจะโอนเงินมาให้เป็นค่าอาหารบวกค่ารอบผ่านบัญชีธนาคารของตน เท่านั้นจริง ๆ

          เคสนี้กลายเป็นว่าคนถูกโยงว่าเป็นมิจฉาชีพ เพราะมีคนไปหลอกขายของออนไลน์ และมีผู้เสียหายไปแจ้งความที่ สภ.โพธ์แก้ว จ.นครปฐม โดยมิจฉาชีพ นำเลขบัญชีของตนไปหลอกให้ผู้เสียหายโอนเงินผ่านบัญชีนี้ ซึ่งตนก็ไม่ทราบว่าทำไมต้องนำเลขบัญชีของตนไปหลอกคนอื่นให้โอนเงิน ยืนยันว่าไม่เคยเปิดบัญชีม้า และไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการมิจฉาชีพ ซ้ำหากผู้เสียหายไม่ถอนแจ้งความตนยังอาจต้องถูกดำเนินคดีอีกด้วย

มาตรการแก้ปัญหาบัญชีม้า ทำอาชีพนี้เดือดร้อน โดนอายัดบัญชีไปด้วย
ภาพจาก เรื่องเล่าเช้านี้

อีกเคสโดนอายัดบัญชีเพราะรับเงินจากโรงแรมที่ลูกค้ามิจฉาชีพเข้าพัก

          ขณะเดียวกัน มีเคสของ นายเอ (นามสมมติ) เปิดเผยว่า  ถูกอายัดบัญชีทั้งหมด 2 บัญชี คือ บัญชีชื่อบริษัท 1 บัญชี และบัญชีชื่อตัวเอง 1 บัญชี เมื่อตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับไปกับธนาคาร ทราบว่าสาเหตุมาจากการรับโอนเงิน 30,000 บาท เมื่อ 16 มกราคม 2568 ที่ผ่านมา คาดว่าเกิดจากมีคนเป็นมิจฉาชีพ ไปใช้บริการโรงแรมแห่งหนึ่ง และมีการใช้จ่ายโอนเงินเข้าบัญชีโรงแรม จากนั้น โรงแรม ซึ่งเป็นลูกค้าในแอปฯ  มีการโอนเงินจ่ายให้บริษัทของผู้เสียหาย 30,000 บาท และตนก็โอนเงินยอดนี้จากบริษัทเข้าบัญชีส่วนตัว

          จุดนี้ทำให้ถูกสงสัยว่า เขากลายเป็นเส้นบัญชีม้าและทำให้ถูกอายัดเงิน ซึ่งจุดแรกที่ทำให้รู้ว่าเงินถูกอายัด เกิดขึ้นขณะจะค่าจอดรถ แต่ปรากฏว่ายอดเงินในบัญชีขึ้นว่าเหลืออยู่ 0 บาท ตอนนั้นคิดว่าแอปฯ ธนาคาร อาจจะมีปัญหา จึงโอนเงินจากบัญชีบริษัทไปที่บัญชีส่วนตัว 50,000 บาท ปรากฏว่ายอดเงินก็ไม่ขึ้น

          จากนั้นเมื่อถามธนาคาร ได้รับแจ้งว่า บัญชีของตนถูกอายัด ซึ่งโดนทั้งหมด 2 บัญชี โดยก่อนที่จะถูกอายัดทางธนาคารไม่มีการส่ง SMS มาบอกก่อน หรือมีการแจ้งเตือนอะไรมาก่อน เมื่อประสานไปที่ธนาคาร และ ศูนย์ AOC สายด่วน 1441 มีการให้ชื่อตำรวจมาและต้องประสานงานเอง ยอมรับว่าเรื่องนี้ส่งผลกระทบต้องไปหยิบยืมเงินคนอื่นมาใช้จ่ายในช่วงที่ถูกอายัด

ขอบคุณข้อมูลจาก เรื่องเล่าเช้านี้
 

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *