KUBET – ลูก 2 ขวบหมดสติ อาการโคม่า หลังพ่อแม่ปล่อยให้อยู่คนเดียวทุกวัน กับขวดนม 1 ขวด

         คดีช็อก พ่อแม่ทิ้งให้ลูก 2 ขวบให้อยู่คนเดียวทุกวัน ใช้ชีวิตทั้งวันด้วยขวดนม 1 ขวด จนสุดท้ายหมดสติ อาการโคม่า



ลูก 2 ขวบหมดสติ อาการโคม่า
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับข้อมูล

          วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2568 เว็บไซต์ Sin Chew เผยกรณีการทารุณกรรมเด็กที่น่าสะเทือนใจในไต้หวัน เด็กชายวัยเพียง 2 ขวบ ถูกพาตัวมาโรงพยาบาลหลังเกิดอาการหมดสติ ทางแพทย์พบร่องรอยบาดแผลทั้งเก่าและใหม่บนตัวของเด็ก จึงสงสัยว่ามีการทำร้ายร่างกายจึงได้แจ้งไปยังตำรวจ หลังจากการสอบสวนพบเรื่องราวที่น่าตกใจ เมื่อพ่อแม่ของเด็กทิ้งลูกให้ใช้ชีวิตอยู่ตามลำพังทั้งวันกับขวดนมเพียง 1 ขวด  

          ตามรายงานเผยว่า พ่อแม่ของเด็กคือ นายอู๋ อายุ 34 ปี และ นางเฉิน อายุ 32 ปี อาศัยอยู่ในที่พักบนถนนฟู่เซียง เขตถูเฉิง เมืองนิวไทเป ของไต้หวัน ทั้งสองอ้างว่างานยุ่งมาก ก่อนหน้านี้ได้นำลูกชายไปฝากให้พ่อแม่ของพวกเขาที่เขตซินจวง ให้ช่วยดูแลหลาน จนกระทั่งเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา ทั้งสองได้ไปรับลูกกลับมาอยู่ที่บ้าน

          อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ได้ปล่อยให้ลูกชายวัย 2 ขวบ
อยู่ที่บ้านเพียงคนเดียว ในขณะที่ตัวเองออกไปทำงาน โดยมีขวดนมเพียง 1
ขวดที่พวกเขาเตรียมเอาไว้ให้ลูกชาย สำหรับการใช้ชีวิตตลอดทั้งวัน
และพวกเขาไม่ได้ทำเช่นนั้นเพียงวันเดียว จนกระทั่งในคืนวันที่ 18
กุมภาพันธ์ หลังจากที่ทั้งสองกลับมาจากที่ทำงาน
ก็พบว่าลูกชายนอนหมดสติอยู่ที่พื้นข้างเตียง
จึงรีบแจ้งหน่วยฉุกเฉินพาส่งโรงพยาบาล

         
เจ้าหน้าที่กู้ภัยเผยว่า ตอนที่ไปพบตัวเด็กชาย
เขายังรู้สึกตัวแต่อาการอ่อนแรงมาก ตามตัวมีบาดแผลที่เหมือนถูกทำร้าย
พ่อแม่เขาอ้างว่าลูกชายกลิ้งตกลงมาจากเตียงจึงได้รับบาดเจ็บ
เด็กชายถูกส่งตัวเข้ารับการรักษาในไอซียู
โดยขณะนี้อาการโคม่ายังอยู่ในภาวะวิกฤต  

         
ภายหลังจากถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจสอบสวน ในที่สุดทางพ่อแม่ก็ยอมรับสารภาพว่า
ได้ทิ้งลูกชายให้อยู่ตามลำพังที่บ้านโดยให้ขวดนมไว้ 1 ขวด
บาดแผลเก่าของลูกชายเกิดตอนที่อยู่บ้านครอบครัว
โดยญาติของพวกเขาเป็นคนอบรมสั่งสอนเด็ก อย่างไรก็ตาม
ทางตำรวจได้ตรวจสอบประวัติการบันทึกการแจ้งความและพบว่า
นี่ไม่ใช่ครั้งแรกที่พ่อแม่คู่นี้ละเลยการเลี้ยงดูลูกของตน

         

ทางตำรวจได้ประสานไปยังสำนักงานกิจการสังคมของเมืองไทเปเพื่อให้เจ้าหน้าที่สังคมสงเคราะห์มาประเมินสถานการณ์

รวมทั้งได้รายงานเรื่องไปยังสำนักงานอัยการเขตให้ดำเนินการสอบสวนตามขั้นตอนทางกฎหมาย
ในขณะที่ทางแพทย์พยายามช่วยเหลือรักษาเด็กอย่างเต็มที่
ซึ่งถือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด
ส่วนทางพ่อแม่ของเด็กหากผลการสอบสวนพบว่าพวกเขาไม่สามารถจัดหาสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัยสำหรับลูกของตนเองได้
ก็มีความเป็นไปได้ที่จะส่งเด็กให้ไปอยู่ในที่ที่เหมาะสม    

ขอบคุณข้อมูลจาก Sin Chew

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *