KUBET – รู้จัก 2 โรคสมอง หลังแผ่นดินไหว ทำไมยังรู้สึกโยก ๆ กระทบจิตใจยังไง นานไหมกว่าจะหาย

          รู้จักโรคสมองเมาแผ่นดินไหว และ โรคสมองหลอนแผ่นดินไหว อาการต่อเนื่องของร่างกาย รักษายังไง นานแค่ไหนกว่าจะหาย จิตใจกระทบยังไงบ้าง



โรคสมอง ที่เกิดหลังจากแผ่นดินไหว
ภาพประกอบไม่เกี่ยวข้องกับเนื้อหา

          หลังเกิดเหตุแผ่นดินไหว แม้ว่าเหตุการณ์จะสงบลงแล้วแต่หลายคนอาจเกิดอาการผิดปกติขึ้น เช่น วิงเวียน หรือรู้สึกสั่น ๆ โยก ๆ อยู่บ้าง เป็นอาการต่อเนื่องหลังประสบเหตุ จนน่าประหลาดใจ หลายคนไม่รู้ว่าเกิดขึ้นจากอะไร ในเรื่องนี้ พบว่าทางเพจ “สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์” โดย ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช ได้โพสต์ให้ความรู้ไว้เมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2568 ซึ่งมีใจความดังนี้

          มารู้จัก โรคสมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) และ โรคสมองหลอนแผ่นดินไหว (Earth quake illusion) โดยหลังแผ่นดินไหวจบ นอกจากสิ่งก่อสร้างเสียหาย ก็ยังมีอาการตอบสนองต่อร่างกายยังไม่จบเป็นอาการต่อเนื่องด้วย ดังเช่นตัวอาจารย์หมอ ที่ยังรู้สึกหวั่น ๆ โยก ๆ อยู่นิดนึง

          อาการอะไรบ้าง เกิดต่อร่างกาย – จิตใจ หลังแผ่นดินไหว

          1. สมองเมาแผ่นดินไหว (Earthquake Drunk) กลุ่มอาการวิงเวียนหลังแผ่นดินไหว หรือ Post-Earthquake Dizziness Syndrome หรือ PEDS)

          ผู้คนมักอธิบายว่ารู้สึกเหมือนยังคงเคลื่อนไหวอยู่ คล้ายกับความโคลงเคลงที่รู้สึกหลังจากลงจากเรือ ซึ่งบางครั้งเรียกว่า “อาการป่วยจากแผ่นดินไหว” หรือ “จิชิน-โยอิ” (แปลตรงตัวว่า “เมาแผ่นดินไหว” ในภาษาญี่ปุ่น)

          การศึกษาชี้ว่าอาการนี้อาจเกิดจากการรบกวนในระบบการทรงตัว (vestibular system) ซึ่งเป็นส่วนของหูชั้นในที่ควบคุมความสมดุล การเคลื่อนไหวที่ไม่คาดคิดจากแผ่นดินไหวสามารถทำให้ระบบนี้เสียสมดุล ส่งผลให้สมองพยายามปรับความรู้สึกให้กลับมาปกติอย่างยากลำบาก บางคนอาจมีอาการคลื่นไส้ เวียนศีรษะ หรือรู้สึกไม่สบายตัวร่วมด้วย และอาการนี้อาจรุนแรงขึ้นในคนที่ไวต่อการเมารถอยู่แล้ว หรือในคนที่อยู่ในอาคารสูงระหว่างเกิดแผ่นดินไหว ซึ่งการสั่นไหวจะรู้สึกชัดเจนกว่า

          ระยะเวลาของอาการทางร่างกายเหล่านี้แตกต่างกันไป ในหลายคน อาการวิงเวียนจะค่อย ๆ หายไปภายในไม่กี่นาทีหรือชั่วโมง เมื่อร่างกายปรับตัวได้ อย่างไรก็ตาม การวิจัยหลังแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ เช่น แผ่นดินไหวโทโฮกุในญี่ปุ่นปี 2011 (ขนาด 9.0) หรือแผ่นดินไหวคุมาโมโตะในปี 2016 พบว่าบางคนมีปัญหาการทรงตัวนานถึงหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน

          การศึกษาหนึ่งพบว่า มากกว่า 42% ของผู้ที่ถูกสำรวจรายงานถึง ความรู้สึกโคลงเคลงที่เหมือนภาพลวงตา ในช่วงหลายสัปดาห์หลังแผ่นดินไหวคุมาโมโตะ

          2. อาการ “สมองหลอนแผ่นดินไหว” หรือ “แผ่นดินไหวทิพย์ (earthquake illusion) ซึ่งเป็นปรากฏการณ์ทางจิตใจที่รู้สึกเหมือนมีแรงสั่นสะเทือน
ทั้งที่มันไม่ได้เกิดขึ้นจริง
อาจเป็นเพราะความตื่นตัวที่สูงขึ้นหรือความทรงจำจากเหตุการณ์อาการทางจิตสั่นไหว

         
แผ่นดินไหวสามารถกระตุ้นการตอบสนองต่อความเครียดเฉียบพลัน เช่น
ความวิตกกังวล ความกลัว แพนิก บางคนนำไปสู่โรคเครียดหลังเหตุสะเทือนใจ
(PTSD) ซึ่งมีอาการเช่น การย้อนนึกถึงเหตุการณ์ ความตื่นตัวเกินเหตุ
หรือการนอนหลับยาก กลัวการอยู่ในตึก หรือ ขึ้นรถไฟฟ้าไปเลย

         
สาเหตุของอาการเหล่านี้ซับซ้อน น่าจะเป็น
สมองพยายามประมวลผลข้อมูลทางประสาทสัมผัสที่ขัดแย้งกัน เช่น
ตาบอกว่าพื้นดินนิ่ง แต่ระบบการทรงตัวบอกว่าเคลื่อนไหว
จนเกิดการพุ่งขึ้นของคอร์ติซอลและอะดรีนาลีนระหว่างและหลังเหตุการณ์สามารถเพิ่มความไวต่อความรู้สึกในร่างกาย
ทำให้อาการวิงเวียนหรือคลื่นไส้รู้สึกหนักขึ้น คนที่เป็นภาวะนี้มากได้แก่
คนมีโรควิตกกังวลหรือประวัติปวดไมเกรน

         
ยังไม่มีวิธีรักษาเฉพาะสำหรับอาการหลังแผ่นดินไหว
แต่สามารถใช้วิธีจากอาการเมารถและการจัดการความเครียดได้ การมองไปที่จุดไกล
ๆ (เช่น เส้นขอบฟ้า) การนอนลง
หรือการจิบน้ำอาจช่วยบรรเทาอาการวิงเวียนในระยะสั้นได้

         
สำหรับผลกระทบทางจิตใจ การพูดคุยเกี่ยวกับประสบการณ์กับผู้อื่น จะช่วยระบาย
หรือหลีกเลี่ยงการดูสื่อเกี่ยวกับเหตุการณ์มากเกินไป (ปล.
ทานยาแก้เวียนได้ 2 – 3 วัน หากใจสั่นจิตตก ทำสมาธิ ไม่ดูข่าวมาก
หากมียาช่วยนอน ทานได้ ปรึกษาแพทย์ หากเป็นมากจนแพนิก)

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ก สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *