หมอนิติเวช เล่าประสบการณ์ไม่น่าจดจำกับ สตง. หลังถูกตรวจ เจอถาม แล้วจะรู้ได้ไงคะ ว่าคนพวกนี้ตายจริง กลายเป็นที่จดจำไม่รู้ลืม

ภาพจาก เฟซบุ๊ก Atthasit Dul-amnuay
รพ.ภูมิพลอดุลยเดช
มีการโพสต์เล่าถึงประสบการณ์การถูกเจ้าหน้าที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน
(สตง.) เข้ามาตรวจสอบงบประมาณต่าง ๆ มีรายละเอียดดังนี้
ประสบการณ์ของผมกับเจ้าหน้าที่ สตง.
1. หลายปีก่อนหน่วยงานของผมได้รับการเข้าตรวจจาก สตง.
แผนกผมก็มีเจ้าหน้าที่ สตง. เข้ามาตรวจหนึ่งท่านเป็นสุภาพสตรีอายุไม่เยอะ
ลงมาท่านเดียว
2.
เจ้าหน้าที่คนดังกล่าวแจ้งว่าต้องการขอดูรายงานการผ่าพิสูจน์ศพทั้งหมด
(autopsy report)
เราทุกคนตกใจมากและแจ้งว่าให้ดูไม่ได้เพราะเป็นข้อมูลลับของผู้เสียชีวิตแต่ละราย
และไม่เคยมีใครมาขอดูมาก่อนตั้งแต่ทำงานมา
3.
เจ้าหน้าที่แจ้งว่ามีอำนาจเข้าตรวจสอบแน่นอน
แล้วกล่าวต่อหน้าเพื่อนอาจารย์แพทย์และข้าราชการอีกหลายคนในห้องว่า
อิจฉาอยู่ค่ะ เพราะหมอได้เงินเยอะ เบิกเงินเยอะ เลยต้องมาตรวจ

4.
ระหว่างการตรวจเจ้าหน้าที่ตั้งข้อสังเกตว่ารายงานแต่ละฉบับมีความยาวสั้นไม่เท่ากัน
บางฉบับ 5 หน้ากระดาษ A4 บางฉบับ 2 หน้า บางฉบับ 1 หน้า ฉบับที่สั้น ๆ
น่าจะไม่มีคุณภาพ ระวังจะถูกเรียกเงินคืน
ทั้ง ๆ ที่แต่ละเคสรายละเอียดไม่เหมือนกัน
5.
ตรวจไปตรวจมา ตอนสุดท้ายจะกลับ
เจ้าหน้าที่ก็พูดประโยคที่ทุกคนตกใจไม่คาดว่าจะได้ยิน
เพราะเราผ่าศพรวมกันมาแล้วเป็นหมื่นร่าง ไม่เคยได้ยินประโยคอะไรแบบนี้
คุณเจ้าหน้าที่บอกว่า “แล้วจะรู้ได้ไงคะ ว่าคนพวกนี้ตายจริง ?”
ทำให้พวกเราจำได้ไม่ลืมจนถึงทุกวันนี้
6.
สิ่งที่ผมทำได้ในขณะนั้นคือแจ้งผู้บังคับบัญชา
และเล่าให้อาจารย์แพทย์หลายคนฟัง คำตอบที่ได้คือ
มันเป็นวิธีการตรวจของเขาตามปกติที่จะยั่วให้เราโกรธและโมโหแล้วจะสังเกตพฤติกรรมของเรา
ให้เราวางเฉย ปล่อยผ่าน ผมไม่พอใจในคำตอบ
7.
คืนนั้นผมเข้าเว็บไซต์ของ สตง.
เพราะคิดว่าจะมีช่องทางให้ร้องเรียนออนไลน์กับท่านผู้ว่า สตง. ได้ไหม ?
ปรากฏว่ากลับเจอธรรมนูญการตรวจเงินแผ่นดินที่บัญญัติว่า
ผู้ตรวจต้องปฏิบัติกับผู้รับตรวจด้วยความเสมอภาค กิริยามารยาทสุภาพ… ฯ
8. วันรุ่งขึ้นผมจึงไปพบหัวหน้าชุดของ สตง. ที่เข้าตรวจ
เล่าเรื่องที่เกิดขึ้น
และท่านหัวหน้าได้กล่าวขอโทษและจะไปกำชับคุณเจ้าหน้าที่ไม่ให้แสดงพฤติกรรมเช่นนั้นอีก
